ระหว่างวันที่ 9-10 พ.ย. 2562 พระโสภณวชิราภรณ์ (ไสว) รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) มอบหมายให้ พระมงคลธีรคุณ, ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพระธรรมทูต และพระแสงเฮือง นรินฺโท, ดร. ผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์ ร่วมพิธีสืบชะตา และประชุมสัมมนาทางวิชาการนานาชาติ เรื่อง การคลี่คลายปมที่เป็นบ่อเกิด ปัฏฐาน ภวังคะ และสมาธิแบบอภิธรรม ปรารภมงคลวารคล้ายวันเกิด อายุครบ ๕๕ ปี ของ ศ.ดร.พระคำหมาย ธมฺมสามี (An International Conference Unravelling the Matrix: Paṭṭhāna, Bhavaṅga and Abhidhamma Meditation In honour of the 55th Birthday Celebrations of Ven. Prof. Dr.Khammai Dhammasami) ต่อด้วยพิธีทำบุญทอดกฐินสามัคคี นำโดย คุณวิเชียร แซ่ฉั่ว คุณพัชธร กิตินุกูลศิลป์ พร้อมด้วยคณะชาวไทย ทอด ณ มหาวิทยาลัยพุทธศาสนารัฐฉาน เมืองตองจี รัฐฉาน สหภาพเมียนมาร์ (Shan State Buddhist University, Taunggyi Myanmar) ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒
พระมงคลธีรคุณ เปิดเผยว่า “การเดินทางไปร่วมพิธีทางศาสนาครั้งนี้ ได้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในดินแดนแถบนี้ ไม่ว่าจะเป็นศาสนสถาน โบราณวัตถุทางพุทธศาสนา วัดวาอารามที่มีประจำในชุมชนต่างๆ จำนวนพระภิกษุสามเณรที่มีอยู่มาก ประชาชนที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้ทะนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา ส่งบุตร-ธิดาเข้าบวชเรียนเพื่อให้เป็นศาสนทายาทสืบต่อพระศาสนา มีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับศาสนาอย่างมั่นคง ยิ่งไปกว่านั้นได้เห็นพุทธบริษัทสนใจใฝ่ในการศึกษาพระธรรม คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คัมภีร์ปัฏฐาน ซึ่งเป็นหนึ่งในอภิธรรมปิฎก โดยมีทั้งการสวดสาธยายต่อเนื่องข้ามวันข้ามคืนเป็นประจำ การศึกษา วิจัย ค้นคว้าลึกซึ้งไปถึงแก่นธรรมของคัมภีร์นี้ ในปีนี้ มีการยกหัวข้อธรรมสำคัญนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นการประชุมสัมมนาทางวิชาการนานาชาติ ซึ่งมีนักวิชาการจากประเทศไทย พม่า ศรีลังกา จีน อังกฤษ แคนาดา นอร์เวย์ ต่างก็มีส่วนร่วมที่จะถกเถียงในแง่มุมต่างๆ ที่ตนเข้าใจ โดยยกหลักฐานที่มีระบุในคัมภีร์ในยุคต่างๆ มาอ้างอิง รับรองความคิดเห็นของตน เห็นถึงบรรยากาศของการสนทนาธรรมตามกาล การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ธรรมไปด้วยกันอย่างเป็นกัลยาณมิตร”
ในสังคมพุทธไทยเข้าใจว่าคัมภีร์ปัฏฐานเป็นหนึ่งในบทสวดสาธยายในพิธีเกี่ยวกับงานศพ เป็นงานอวมงคล แต่ในสังคมพุทธในพม่าเป็นข้อธรรมที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของทุกคน เมื่อได้ศึกษา และรับฟังการนำเสนอของนักวิชาการต่างๆ แล้ว เห็นว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังมีความไม่เข้าใจ กล่าวคือเมื่อมีเหตุการณ์ใดๆเกิดขึ้น มักจะมองแค่เหตุเดียวผลเดียว ไม่มององค์ประกอบอื่นๆ ที่เป็นปัจจัยแวดล้อมด้วย ดังคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงถึงปัจจัย ๒๔ ดังปรากฏในคัมภีร์ปัฏฐานนั่นเอง
ข่าว : วิทยาลัยพระธรรมทูต
รายงาน: พระมหาสมาน ชาตวิริโย, ดร.
ภาษาอังกฤษ : พระสิริวรรณะ สิริวณฺโณ
ภาพ : วิทยาลัยพระธรรมทูต
ระหว่างวันที่ 9-10 พ.ย. 2562 พระโสภณวชิราภรณ์ (ไสว) รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) มอบหมายให้ พระมงคลธีรคุณ, ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพระธรรมทูต และพระแสงเฮือง นรินฺโท, ดร. ผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์ ร่วมพิธีสืบชะตา และประชุมสัมมนาทางวิชาการนานาชาติ เรื่อง การคลี่คลายปมที่เป็นบ่อเกิด ปัฏฐาน ภวังคะ และสมาธิแบบอภิธรรม ปรารภมงคลวารคล้ายวันเกิด อายุครบ ๕๕ ปี ของ ศ.ดร.พระคำหมาย ธมฺมสามี (An International Conference Unravelling the Matrix: Paṭṭhāna, Bhavaṅga and Abhidhamma Meditation In honour of the 55th Birthday Celebrations of Ven. Prof. Dr.Khammai Dhammasami) ต่อด้วยพิธีทำบุญทอดกฐินสามัคคี นำโดย คุณวิเชียร แซ่ฉั่ว คุณพัชธร กิตินุกูลศิลป์ พร้อมด้วยคณะชาวไทย ทอด ณ มหาวิทยาลัยพุทธศาสนารัฐฉาน เมืองตองจี รัฐฉาน สหภาพเมียนมาร์ (Shan State Buddhist University, Taunggyi Myanmar) ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒
พระมงคลธีรคุณ เปิดเผยว่า “การเดินทางไปร่วมพิธีทางศาสนาครั้งนี้ ได้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในดินแดนแถบนี้ ไม่ว่าจะเป็นศาสนสถาน โบราณวัตถุทางพุทธศาสนา วัดวาอารามที่มีประจำในชุมชนต่างๆ จำนวนพระภิกษุสามเณรที่มีอยู่มาก ประชาชนที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้ทะนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา ส่งบุตร-ธิดาเข้าบวชเรียนเพื่อให้เป็นศาสนทายาทสืบต่อพระศาสนา มีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับศาสนาอย่างมั่นคง ยิ่งไปกว่านั้นได้เห็นพุทธบริษัทสนใจใฝ่ในการศึกษาพระธรรม คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คัมภีร์ปัฏฐาน ซึ่งเป็นหนึ่งในอภิธรรมปิฎก โดยมีทั้งการสวดสาธยายต่อเนื่องข้ามวันข้ามคืนเป็นประจำ การศึกษา วิจัย ค้นคว้าลึกซึ้งไปถึงแก่นธรรมของคัมภีร์นี้ ในปีนี้ มีการยกหัวข้อธรรมสำคัญนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นการประชุมสัมมนาทางวิชาการนานาชาติ ซึ่งมีนักวิชาการจากประเทศไทย พม่า ศรีลังกา จีน อังกฤษ แคนาดา นอร์เวย์ ต่างก็มีส่วนร่วมที่จะถกเถียงในแง่มุมต่างๆ ที่ตนเข้าใจ โดยยกหลักฐานที่มีระบุในคัมภีร์ในยุคต่างๆ มาอ้างอิง รับรองความคิดเห็นของตน เห็นถึงบรรยากาศของการสนทนาธรรมตามกาล การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ธรรมไปด้วยกันอย่างเป็นกัลยาณมิตร”
ในสังคมพุทธไทยเข้าใจว่าคัมภีร์ปัฏฐานเป็นหนึ่งในบทสวดสาธยายในพิธีเกี่ยวกับงานศพ เป็นงานอวมงคล แต่ในสังคมพุทธในพม่าเป็นข้อธรรมที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของทุกคน เมื่อได้ศึกษา และรับฟังการนำเสนอของนักวิชาการต่างๆ แล้ว เห็นว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังมีความไม่เข้าใจ กล่าวคือเมื่อมีเหตุการณ์ใดๆเกิดขึ้น มักจะมองแค่เหตุเดียวผลเดียว ไม่มององค์ประกอบอื่นๆ ที่เป็นปัจจัยแวดล้อมด้วย ดังคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงถึงปัจจัย ๒๔ ดังปรากฏในคัมภีร์ปัฏฐานนั่นเอง
News: Dhammaduta College
Reporter: Dr.Phramaha Samarn Jataviriyo
English News: Phra Siriwanna Siriwanno
Picture: Dhammaduta College ,
ระหว่างวันที่ 9-10 พ.ย. 2562 พระโสภณวชิราภรณ์ (ไสว) รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) มอบหมายให้ พระมงคลธีรคุณ, ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพระธรรมทูต และพระแสงเฮือง นรินฺโท, ดร. ผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์ ร่วมพิธีสืบชะตา และประชุมสัมมนาทางวิชาการนานาชาติ เรื่อง การคลี่คลายปมที่เป็นบ่อเกิด ปัฏฐาน ภวังคะ และสมาธิแบบอภิธรรม ปรารภมงคลวารคล้ายวันเกิด อายุครบ ๕๕ ปี ของ ศ.ดร.พระคำหมาย ธมฺมสามี (An International Conference Unravelling the Matrix: Paṭṭhāna, Bhavaṅga and Abhidhamma Meditation In honour of the 55th Birthday Celebrations of Ven. Prof. Dr.Khammai Dhammasami) ต่อด้วยพิธีทำบุญทอดกฐินสามัคคี นำโดย คุณวิเชียร แซ่ฉั่ว คุณพัชธร กิตินุกูลศิลป์ พร้อมด้วยคณะชาวไทย ทอด ณ มหาวิทยาลัยพุทธศาสนารัฐฉาน เมืองตองจี รัฐฉาน สหภาพเมียนมาร์ (Shan State Buddhist University, Taunggyi Myanmar) ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒
พระมงคลธีรคุณ เปิดเผยว่า “การเดินทางไปร่วมพิธีทางศาสนาครั้งนี้ ได้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในดินแดนแถบนี้ ไม่ว่าจะเป็นศาสนสถาน โบราณวัตถุทางพุทธศาสนา วัดวาอารามที่มีประจำในชุมชนต่างๆ จำนวนพระภิกษุสามเณรที่มีอยู่มาก ประชาชนที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้ทะนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา ส่งบุตร-ธิดาเข้าบวชเรียนเพื่อให้เป็นศาสนทายาทสืบต่อพระศาสนา มีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับศาสนาอย่างมั่นคง ยิ่งไปกว่านั้นได้เห็นพุทธบริษัทสนใจใฝ่ในการศึกษาพระธรรม คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คัมภีร์ปัฏฐาน ซึ่งเป็นหนึ่งในอภิธรรมปิฎก โดยมีทั้งการสวดสาธยายต่อเนื่องข้ามวันข้ามคืนเป็นประจำ การศึกษา วิจัย ค้นคว้าลึกซึ้งไปถึงแก่นธรรมของคัมภีร์นี้ ในปีนี้ มีการยกหัวข้อธรรมสำคัญนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นการประชุมสัมมนาทางวิชาการนานาชาติ ซึ่งมีนักวิชาการจากประเทศไทย พม่า ศรีลังกา จีน อังกฤษ แคนาดา นอร์เวย์ ต่างก็มีส่วนร่วมที่จะถกเถียงในแง่มุมต่างๆ ที่ตนเข้าใจ โดยยกหลักฐานที่มีระบุในคัมภีร์ในยุคต่างๆ มาอ้างอิง รับรองความคิดเห็นของตน เห็นถึงบรรยากาศของการสนทนาธรรมตามกาล การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ธรรมไปด้วยกันอย่างเป็นกัลยาณมิตร”
ในสังคมพุทธไทยเข้าใจว่าคัมภีร์ปัฏฐานเป็นหนึ่งในบทสวดสาธยายในพิธีเกี่ยวกับงานศพ เป็นงานอวมงคล แต่ในสังคมพุทธในพม่าเป็นข้อธรรมที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของทุกคน เมื่อได้ศึกษา และรับฟังการนำเสนอของนักวิชาการต่างๆ แล้ว เห็นว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังมีความไม่เข้าใจ กล่าวคือเมื่อมีเหตุการณ์ใดๆเกิดขึ้น มักจะมองแค่เหตุเดียวผลเดียว ไม่มององค์ประกอบอื่นๆ ที่เป็นปัจจัยแวดล้อมด้วย ดังคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงถึงปัจจัย ๒๔ ดังปรากฏในคัมภีร์ปัฏฐานนั่นเอง
News: Dhammaduta College
Reporter: Dr.Phramaha Samarn Jataviriyo
English News: Phra Siriwanna Siriwanno
Picture: Dhammaduta College ,